คู่มือเยี่ยมบ้านจิตอาสาครอบครัว

19 1) การให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างแม่กับลูก พื้นฐานส�ำคัญที่สุดในการเลี้ยงดูลูกนั้นอยู่ที่ความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว ที่จะพัฒนามาจากความผูกพัน ระหว่างแม่กับลูก หากลูกมีความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคง ย่อมน�ำไปสู่พัฒนาการที่ดีทั้งด้านอารมณ์ สังคม และความคิด พบว่าความผูกพันทางอารมณ์ของเด็กทารก มีผลต่อความเชื่อมั่นในตัวเอง ความสามารถในการ ควบคุมอารมณ์ และสมรรถนะทางอารมณ์เมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่าความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงระหว่างผู้เลี้ยงดูกับเด็ก สัมพันธ์กับระดับสติปัญญา และ ความสามารถอยู่ในสังคมของเด็ก นอกจากนี้ ความผูกพันทางอารมณ์ยังสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมในเด็ก อีกด้วย โดยพบว่าเด็กที่มีความผูกพันทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคงกับแม่ มักจะมีปัญหาการนอน ปัญหาการกิน มี พฤติกรรมก้าวร้าว 2) ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างแม่กับคนรอบข้าง ช่วงเวลาเริ่มต้นของแม่ในการดูแลลูกที่เป็นเด็กทารก จ�ำเป็นต้องมีคนรอบข้างที่ใกล้ชิดและไว้ใจ ได้แก่ สามี พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ เป็นต้น โดยบุคคลเหล่านี้จะ สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือกิจวัตรประจ�ำวันของแม่ได้ อาทิ การแบ่งเบาภาระงานบ้าน การช่วยดูแลทารก หรือลูกคนอื่นๆเพื่อให้แม่ได้มีโอกาสพักผ่อน หรือการให้ก�ำลังใจ รับฟังปัญหาในเวลาที่แม่มีความไม่สบายใจ การช่วยเหลือจากคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ชิดแม่ จะเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การเลี้ยงดูลูกมีคุณภาพที่ดี แม่ที่ มีภาวะความเครียดสะสม หรือเสียงเป็นภาวะซึมเศร้ามักจะแยกตัวออกห่าง หลีกเลี่ยงการพูดคุยพบปะ หรือ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ท�ำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันมากขึ้น หากแม่ไม่มีคนรอบข้างที่จะช่วย สนับสนุนในการดูแลตัวเองและลูกแล้ว อาจก่อความเครียดสะสมจนส่งผลกระทบต่อการดูแลลูกที่ดีได้ เมื่อแม่รู้สึกตัวว่าเหนื่อย วิตกกังวล หรือไม่สบายใจกับเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น สนับสนุนให้แม่ได้พูด คุยบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่สบายใจกับคนรอบข้าง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีส่วนช่วยเหลือแม่ให้ผ่านเหตุการณ์ที่ รู้สึกไม่ดีไปได้ไม่จ�ำเป็นที่แม่จะต้องเผชิญปัญหาตามล�ำพัง เพื่อให้แม่สามารถดูแลลูกได้ดีต่อไป เรื่องที่ 2 การสร้างสัมพันธภาพระหว่างแม่กับลูก 3) หลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูก 3.1. ความใกล้ชิดระหว่างแม่และลูก ความใกล้ชิดระหว่างแม่และลูก เริ่มต้นจากการสัมผัสที่อ่อนโยน การกอด การมองหน้าสบตา หรือมี ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านกิจกรรมใดก็ได้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การให้นม การรับประธานอาหารร่วมกัน การ ท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน อาบน�้ำแต่งตัว การเล่านิทาน เป็นต้น และขอเน้นย�้ำว่า ในช่วงเดือนแรกไม่ควรเปลี่ยนผู้ เลี้ยงดูบ่อย หรือมีผู้เลี้ยงหลายคน ควรมีผู้เลี้ยงหลักเพียงคนเดียว

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=