การป้องกันโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละออง PM2.5

12 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5 ) เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้ง จากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟ ป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถ เข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิด โรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอด ต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็น เวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การ ทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทํา ให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ( PM 10 ) เ ป็นฝุ่นที่มีขนาด เ ส้นผ่าน ศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน เกิดจากการ เ ผ า ไ หม้ เ ชื้อ เ พลิ ง ก า ร เ ผ า ใ นที่ โ ล่ ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง ส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อหายใจ เข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดิน หายใจ ก๊าซโอโซน (O 3 ) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมี สีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน�้ำได้เล็กน้อย เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบรรยากาศชั้นที่สูง จากผิวโลก และระดับชั้นบรรยากาศผิวโลก ที่ใกล้พื้นดิน ก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษ ทางอากาศคือ ก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศ ผิวโลก เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซ ออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบ อินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นตัว เร่งปฏิกิริยา มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดย ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและระคาย เคืองต่อระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุ ต่างๆ ความสามารถในการท�ำงานของปอด ลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็น ก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผา ไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบ ก๊าซนี้สามารถสะสมอยู่ ใ น ร่ า ง ก า ย ไ ด้ โ ด ย จ ะ ไ ป ร ว ม ตั ว กั บ ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ได้ดีกว่า ออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อ หายใจเข้าไปท�ำให้ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับ กับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซี ฮีโมโกลบิน (CoHb) ท�ำให้การล�ำเลียง ออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลด น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการ อ่อนเพลีย และหัวใจท�ำงานหนักขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=