แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 46 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 47 แนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำ กว่า 3 ปี จัดท�ำขึ้นโดยการวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 และแนวทางการเฝ้า ระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) รวมถึงการส่งเสริมโภชนาการ และการเฝ้าระวังและการป้องกันโรค เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก สามารถจัดกิจกรรมที่ ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี ซึ่งในตอนที่ 3 จะเป็น แนวปฏิบัติ รวมถึงตัวอย่างการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรมประจ�ำวันของเด็กตามช่วงวัย ได้แก่ ช่วงอายุ 0-2 ปี และช่วง 2-3 ปี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 3.1 แนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ช่วงอายุ 0-2 ปี ช่วงอายุ 0-2 ปีจะเป็นเน้นการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจ�ำวันโดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู และการเล่นตาม ธรรมชาติของเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ร่างกายตามความสามารถ ด้านอารมณ์จิตใจ ส่งเสริม การตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างเหมาะสมภายใต้สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัย ด้านสังคม ส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด และด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กได้สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อสร้างความเข้าใจและใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมการคิด และการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับวัย โดยมี แนวปฏิบัติและตัวอย่างการจัดตารางกิจกรรมประจ�ำวันของเด็ก รวมถึงตัวอย่างการจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมประจ�ำวัน วัตถุประสงค์ ตัวอย่างการจัดกิจกรรม 1. การเคลื่อนไหวและการทรงตัว - เพื่อส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อ แขนกับขา และส่วนต่างๆ ของ ร่างกายในการเคลื่อนไหวหรือ ออกก�ำลังกายทุกส่วน กิจกรรมกลางแจ้ง การเล่น เครื่องเล่น สนาม การส�ำรวจ ธรรมชาติ 2. การฝึกการประสานสัมพันธ์ ระหว่างมือ-ตา - เพื่อสร้างความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ ให้พร้อมใน การหยิบจับ ฝึกการท�ำงานอย่าง สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา การเล่นดินน�้ำมัน แป้งโด ต่อบล็อค ขนาดใหญ่ 3. การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา - เพื่อฝึกการเปล่งเสียง เลียน เสียงพูด ฝึกการให้เด็กรู้จักสื่อ ความหมายด้วยค�ำพูดและท่าทาง การฟังนิทาน การล้อเลียนเสียง การร้องเพลง การสื่อสารพูดคุยกับ ผู้เลี้ยงดู 4. การส่งเสริมทักษะทางสังคม - เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู และบุคคลใกล้ชิด การเล่นร่วมกันระหว่างพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู บุคคลใกล้ชิดหรือเพื่อน 5. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 - เพื่อกระตุ้นการรับรู้ผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5 ในการมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัส การเล่นดิน/ทราย/น�้ำ การหยิบจับ ส�ำรวจวัสดุ/อุปกรณ์ที่มีพื้นผิวต่างกัน เช่น ขลุขละ เรียบ เป็นลอนคลื่น การฟังเสียงจากแหล่งก�ำเนิดต่างๆ กัน เช่น เสียงสัตว์ เสียงยวดยานพาหนะ 6. ส่งเสริมการส�ำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว - เพื่อฝึกให้เด็กเรียนรู้ สิ่งรอบตัว ผ่านเหตุการณ์ สื่อที่หลากหลาย ในโอกาสต่างๆ การน�ำเด็กไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ เช่น สวนสัตว์ สวนสาธารณะ 7. การส่งเสริมจินตนาการและ คิดสร้างสรรค์ - เพื่อฝึกให้เด็กแสดงออกทาง ความคิด ตามจินตนาการของ ตนเอง การเล่นต่อบล็อกขนาดใหญ่ การเล่นตุ๊กตา การปั้นแป้ง การลากเส้น การระบายสี/เล่นสี แนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี ตอนที่ 3

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=