แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 14 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 15 สุขภาพ การอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่และสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น เด็กที่เติบโต ขึ้นจากสภาพแวดล้อมสงบเงียบได้รับความรักเอาใจใส่ และการตอบสนองความ ต้องการสม�่ำเสมอ พ่อแม่มีอารมณ์คงเส้นคงวาเด็กก็จะเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีอารมณ์ มั่นคงกว่า เด็กที่มีสภาพแวดล้อมที่ตรงกันข้ามกัน เป็นต้น 3. พัฒนาการทางด้านสังคม ค�ำว่า สังคม หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์การผูกพัน และการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน ดังนั้นพัฒนาการทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นจะพัฒนาจากความผูกพัน ใกล้ชิด พึ่งพาพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ไปสู่การพึ่งตนเอง และการปรับตัวอยู่ร่วม กับผู้อื่นในสังคม เด็กปฐมวัยหรือวัยก่อนเข้าเรียนได้เรียนรู้เข้าใจ และใช้ภาษาได้ ดีขึ้นพ่อแม่และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตลอดจนครูผู้ดูแลเด็กได้อบรมสั่งสอนเพื่อให้เด็ก เข้าใจถึงวัฒนธรรมค่านิยมและศีลธรรมทีละน้อยโดยเริ่มจากสิ่งที่ง่าย เช่น การพูดจาสุภาพ การเคารพกราบไหว้ฯลฯ เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม 4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถ ทางการรู้คิด ซึ่งจะพัฒนาจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสและการรู้คิด เชิงรูปธรรม ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ แล้วจึงรู้จักคิดเป็นนามธรรม รวมทั้งความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การใช้ความคิดที่มีเหตุผล ความสามารถตามพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละคน จะเร็วหรือช้ากว่าปกติได้และมีความแตกต่างกัน คือ 4.1 ความแตกต่างภายในบุคคล ธรรมชาติได้ก�ำหนดให้พัฒนาการของระบบและส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายในตัวเด็กแต่ละคน มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันในช่วงอายุหนึ่งๆ ของบุคคลนั้นเช่นกัน ในช่วงวัยทารก พัฒนาการทางร่างกายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาในช่วงปฐมวัย พัฒนาการของสมองอยู่ในอัตราสูงกว่า การเจริญเติบโตของอวัยวะอื่นๆ เป็นต้น 4.2 ความแตกต่างระหว่างบุคคล แม้ว่าเด็กทุกคนจะมีแบบแผนของพัฒนาการเหมือนกันและพัฒนาไป ในทิศทางเดียวกัน แต่ความสามารถที่จะพัฒนาให้ไปถึงจุดเดียวกันเมื่ออายุเท่ากัน อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากระดับวุฒิภาวะที่ถูกก�ำหนดโดยพันธุกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็น ตัวกระตุ้นหรือขัดขวางศักยภาพ 5. พัฒนาการทางภาษา เด็กวัยนี้มีความสามารถในการใช้ ภาษาได้ เด็กจะเรียนรู้ศัพท์และจดจ�ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย เฉลี่ย 1 ขวบ รู้ศัพท์ประมาณ 1,000 ค�ำ และจะเพิ่มเป็นเท่าตัว เด็กสามารถใช้ค�ำวลีและประโยคในการแสดงบทบาทตาม แบบอย่าง เมื่ออายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป จึงเป็นโอกาสเหมาะที่ควร จะได้สนับสนุนและส่งเสริมเด็กให้มากที่สุด จะเห็นได้ว่า เด็กช่วงวัยนี้มีพัฒนาการทางร่างกายที่ก�ำลังเจริญเติบโตและสภาวะอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สังคมรอบตัวเด็ก มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา การเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก จะท�ำให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก เข้าใจเด็กและให้การอบรมเลี้ยงดูรวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ได้ อย่างเหมาะสม • พื้นฐานอารมณ์เด็ก เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันตามพื้นฐานอารมณ์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานที่ถูก ก�ำหนดโดยปัจจัยทางชีวภาพจากพันธุกรรม และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เด็กนั้นเติบโต มา เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือครู/ผู้ดูแลเด็ก สภาพชุมชน เป็นต้น ลักษณะพื้นทางอารมณ์ของเด็ก จะส่ง ผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ รวมถึงพัฒนาการทางด้านจิตใจ โดยจ�ำแนกลักษณะพื้นฐานอารมณ์ของเด็กได้ 3 ประเภท ดังนี้ 3.1 เด็กเลี้ยงง่าย เด็กในกลุ่มนี้จะมีลักษณะ การกิน การนอน การขับถ่าย สม�่ำเสมอเป็นเวลาปรับตัวง่ายไม่ค่อยร้องงอแง สนใจและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็ว ส่วนใหญ่จะอารมณ์ดีมีท่าทาง ที่เป็นมิตรพบได้ร้อยละ 40 3.2 เด็กเลี้ยงยาก เด็กกลุ่มนี้จะมีการกิน การนอน การขับถ่ายที่ ไม่สม�่ำเสมอ ปรับตัวยาก มักจะหลีกเลี่ยงถอยห่างเมื่อมีสถานการณ์หรือ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ อาจจะร้องไห้งอแง อารมณ์ส่วนใหญ่จะหงุดหงิดง่ายมีท่าทาง ที่เป็นมิตร พบได้ร้อยละ 10 3.3 เด็กปรับตัวช้า เด็กกลุ่มนี้จะปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้ช้า มีลักษณะ ขี้อาย มีแนวโน้มที่ถอยห่างเมื่อมีสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ อารมณ์ ส่วนใหญ่จะหงุดหงิดง่าย มีท่าทางที่เป็นมิตร พบได้ร้อยละ 15 จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็กทั้ง 3 ลักษณะ ครู/ผู้ดูแลเด็ก ควรสังเกตความจ�ำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจ ในเรื่องพื้นฐานอารมณ์ เพื่อช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพกับเด็กได้ เพื่อให้ การดูแลเด็กหรือพัฒนาความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพสูงสุดของเด็ก • ความผูกพันทางอารมณ์เด็ก ความผูกพันทางอารมณ์ มีลักษณะเฉพาะเป็นความผูกพันของเด็กต่อผู้เลี้ยงดูที่เด็กสามารถรับรู้ว่าเป็นใคร ที่สามารถปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยได้ ท�ำหน้าที่เป็นฐานแห่งความมั่นคงทางจิตใจ เด็กที่มีความผูกพัน ทางอารมณ์กับพ่อแม่ที่ดีจะท�ำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่เกิดความเครียดหรือกังวลเพราะเชื่อว่าพ่อแม่ จะท�ำให้ปลอดภัย ซึ่งความรู้สึกผูกพันดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับครู/ผู้ดูแลเด็กเช่นเดียวกับพ่อแม่ ซึ่งความ ผูกพันทางอารมณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่ และไวต่อสัญญาณ ที่เด็กบอกอย่างทันทีและสม�่ำเสมอ ตรงข้ามเด็กที่ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับใคร จะมีการแสดงพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมและมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยสามารถแบ่งรูปแบบความผูกพันทางอารมณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=