แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 112 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 113 2.2 จดหมายเวียน ลักษณะเป็นจดหมายเวียนที่เขียนสั้นๆ กะทัดรัด น่าสนใจ และให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นมิตร เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองสนใจติดตามอ่าน โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาสาระของจดหมายเวียนจะหวัง ผลการด�ำเนินงานตลอดจนกิจกรรมประจ�ำภาคเรียน หรือในแต่ละสัปดาห์ เช่น กิจกรรมวันส�ำคัญต่างๆ ฯลฯ 3. ข่าวสารประจ�ำสัปดาห์ เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถติดตามสิ่งที่ลูกได้เรียนรู้ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ได้อย่างเป็นปัจจุบัน อันจะส่งผลให้ผู้ปกครองสามารถให้การส่งเสริมที่บ้านได้สอดคล้องกันอีกด้วย ประกอบ ด้วยเนื้อหาส�ำคัญ 4 ส่วน คือ 3.1รายละเอียดของเนื้อหาประสบการณ์และกิจกรรมที่เด็กจะได้เรียนรู้ในสัปดาห์นั้น 3.2 กิจกรรมเสนอแนะประเภท “เล่นกับลูก” เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน เป็นต้น 3.3 รายการเมนูอาหารประจ�ำสัปดาห์ เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบและสามารถพุดคุยสนทนากับลูก พร้อมทั้งติดตามตรวจสอบคุณภาพโภชนาการได้ 3.4 ความคิดเห็นข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เพื่อให้สถานศึกษารับทราบ เพื่อน�ำไปปรับปรุงหรือปฏิบัติต่อไป 4. หนังสือพิมพ์ฝาผนัง เป็นสื่อที่เสนอข้อมูลเนื้อหาส�ำหรับผู้ปกครองอย่างง่ายๆ โดยพิมพ์เพียงด้านเดียว มีภาพประกอบข้อความเพื่อช่วยในการสื่อความหมาย เหมาะกับการน�ำเสนอเรื่องที่เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ สามารถน�ำเสนอเนื้อหาเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาไม่มากนัก 5. จดหมายข่าว เป็นสื่อที่ใช้ในการแจ้งข่าวสารข้อมูล ความเคลื่อนไหวต่างๆ เหมาะส�ำหรับใช้ส่งข่าวคราว การท�ำงาน เป็นการให้ข้อมูลที่ค่อนข้างสม�่ำเสมอกับผู้ปกครอง ข้อมูลในจดหมายข่าวอาจเป็นเกร็ดความรู้ส�ำหรับ ผู้ปกครอง ค�ำแนะน�ำในการจัดกิจกรรมเด็กที่บ้าน หรือผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ตารางกิจกรรมส�ำหรับเด็ก ที่ผู้ปกครองจะให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือได้ จดหมายข่าวมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การท�ำแบบง่ายๆ ที่เขียน ด้วยลายมือ ไปจนถึงการพิมพ์ด้วยกระดาษหลากสีและมีรูปภาพประกอบอย่างสวยงาม 6. ภาพพลิก เป็นสื่อที่ไม่ได้ท�ำเป็นรูปเล่มหนังสือ แต่มีลักษณะเป็นภาพชุด แต่ละชุดมีหลายแผ่น หลายภาพ มีค�ำบรรยายที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันในชุด เหมาะกับผู้อ่านที่มีระดับการอ่านออกเขียนได้ ไม่สูงมากนัก 7. แผ่นพับ เป็นสื่อแผ่นเดียวที่พับเป็นตอนๆ เสนอเนื้อหาทั้งสองหน้า บรรจุเนื้อหาได้พอควร พิมพ์ได้ง่าย และรวดเร็ว เหมาะกับการน�ำเสนอเนื้อหาเป็นเรื่องๆ ที่มีรายละเอียดพอประมาณ หรือใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ งานโครงการ เพื่อชี้แจง บอกกล่าวให้ผู้ปกครองและชุมชนได้ทราบว่า สถานศึกษาก�ำลังจะมีการประชุมหรือ มีกิจกรรมพิเศษบางอย่าง 8. คู่มือผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับปรัชญา นโยบายการจัดการศึกษาที่สถานศึกษายึดเป็น เป้าหมาย รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นนโยบายและแนวปฏิบัติ รูปแบบและรูปเล่มของคู่มือ ผู้ปกครองควรมีความสวยงามน่าอ่าน มีรูปภาพประกอบ พร้อมทั้งให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน เช่น มีสารบัญ การใช้กระดาษต่างสีแยกประเภทข้อมูล ฯลฯ ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิค ต่างๆ เนื่องจากผู้ปกครอง มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ควรพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ มีรูปภาพประกอบ 3. สร้างความสัมพันธ์โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันมาก มีดังนี้ 1. การติดต่อทางโทรศัพท์ เป็นวิธีที่ค่อนข้างมีข้อจ�ำกัด แต่สะดวกและรวดเร็ว และเป็นการสื่อสารแบบ สองทาง สามารถท�ำให้ครูติดต่อนัดหมายกับผู้ปกครองในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเวลา หรือใช้แจ้งข่าวสาร ต่างๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น กรณีเจ็บป่วย สิ่งที่เด็กควรได้รับค่าชมเชย ฯลฯ 2. การใช้สื่อทัศนูปกรณ์ หมายถึง ภาพสไลด์ ภาพยนตร์ แผ่นเสียง รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ สื่อประเภทนี้ช่วยสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ท�ำให้ผู้ชมมองเห็นภาพ เกิดความเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งและอย่างละเอียด 3. การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โทรสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อประเภทนี้สามารถใช้เพื่อ ประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร หรือให้ความรู้ รวมถึงการให้ข้อมูลต่างๆ ทางโทรสาร หรืออิเล็กทรอนิกส์เมล์ (e-mail) เช่น หลักสูตร การจัดอบรมและกิจกรรมต่างๆ การเรียนการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ข่าวสารประจ�ำสัปดาห์ ฯลฯ 4. สร้างความสัมพันธ์โดยสื่อกิจกรรม มีดังนี้ 1. การเยี่ยมบ้าน เป็นกิจกรรมที่จ�ำเป็นและมีความส�ำคัญมาก เพราะท�ำให้ครูได้ทราบความสัมพันธ์ภายใน ครอบครัวของเด็ก และเข้าใจพฤติกรรมของเด็กมากขึ้น ช่วยให้ครูและผู้ปกครองมีความคุ้นเคยกัน มีโอกาส ชี้แจงให้ความเข้าใจผู้ปกครองให้ส่งเสริมบุตรหลานของตนในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมตามวัย นอกจากนี้ ครูยังมีโอกาสได้เห็นสภาพแวดล้อมทางบ้านของเด็กอีกด้วย 2. การเยี่ยมโรงเรียน ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองพาลูกไปเยี่ยมสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยก่อนโรงเรียน เปิดภาคเรียน เพื่อให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่ 3. กิจกรรมวันเปิดบ้าน เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนในต่างประเทศนิยมมาก เป็นกิจกรรมที่จัดในวันที่ สถานศึกษาจัดเตรียมการเรียนการสอนให้ผู้ปกครองมาสังเกตการณ์ และร่วมกิจกรรมกับเด็กๆ โดยจะมี การตกแต่งห้องด้วยผลงานของเด็กๆ อาจมีการแสดงชุดเล็กที่ไม่ต้องแต่งตัว แต่งหน้า เช่น การร้องเพลง ท่องค�ำคล้องจอง หรือท�ำท่าประกอบเพลงสั้นๆ แต่น่ารัก น่าประทับใจ เป็นต้น 4. การประชุมปรึกษาหารือระหว่างผู้ปกครองกับครู/ผู้ดูแลเด็ก ควรมีการประชุมผู้ปกครองเพื่อปรึกษา เกี่ยวกับเรื่องการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ส�ำคัญส�ำหรับเด็ก ครู/ผู้ดูแลเด็ก จึงจ�ำเป็นต้องมีการวางแผน ที่ดี มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ปกครองที่สละเวลามาเข้าร่วม ประชุม 5. การแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ครูและผู้ปกครองอาจรวมกลุ่มเพื่อวางแผนท�ำกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริม พัฒนาการเด็กตามที่ผู้ปกครองสนใจ การเลือกหัวข้อในการประชุมกลุ่มต้องเป็นเรื่องที่เกิดจากความต้องการ ของผู้ปกครอง ครูจึงต้องจัดการประชุมอย่างมีระบบ มิเช่นนั้นจะกลายเป็นการพูดคุยกันธรรมดา 6. การจัดวัสดุและเครื่องอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับผู้ปกครอง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรจัดห้องหรือ มุมส�ำหรับผู้ปกครอง เพื่อใช้ในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู หรือส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็ก ภายในห้องอาจจะตกแต่งด้วยผลงานเด็ก ของเล่น และอุปกรณ์เกี่ยวกับเด็กที่ผู้ปกครองสามารถยืมไปใช้สอน ลูกที่บ้านได้ นอกจากรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สิ่งที่ต้องค�ำนึงถึงต่อมา คือ ลักษณะของ การสื่อสาร ซึ่งอาจมีได้ทั้ง 2 ลักษณะ รูปแบบสารสัมพันธ์ที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มักจะจัดท�ำ มีลักษณะเป็นจดหมายซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นจดหมายสั้นๆ กะทัดรัด น่าสนใจ และให้ความอบอุ่นเป็นมิตร เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองติดตามอ่าน และรู้สึก ว่าจดหมายนั้นเจาะจงมาทีผู้ปกครองโดยตรง ซึ่งการสื่อสารนั้นอาจมีได้ทั้ง 2 ลักษณะ คือ การสื่อสาร 2 ทาง ซึ่งผู้รับสารมีโอกาสให้ข้อมูลย้อนกลับ ท�ำให้ผู้ส่งสารทราบว่า ผู้รับสารเข้าใจสารที่ส่งไปมากน้อยเพียงใด เป็นข้อมูลในการแก้ ไขปรับปรุง ข้อบกพร่องต่างๆ ในการส่งสารครั้งต่อไป อีกลักษณะหนึ่ง คือ การสื่อสารทางเดียว ซึ่งการสื่อสารในลักษณะนี้ผู้ส่งสารไม่มีโอกาสได้รับการตอบ เหมาะส�ำหรับการให้ ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องต่างๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=