แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กต่ำกว่า 3 ปี

แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 110 แนวทางการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ของเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี กรมอนามัย 111 การด�ำเนินงานในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพนั้น จ�ำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและได้รับความร่วมมือจากหลาย ภาคส่วน ซึ่งในตอนที่ 4 จะกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของ ผู้เกี่ยวข้องกับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การสร้างความมี ส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมการเรียนรู้ การจัด สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และความปลอดภัย วัตถุประสงค์ ส�ำคัญคือการท�ำให้ปัจจัยแวดล้อมรอบตัวเด็กมีคุณภาพซึ่งจะ เป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เด็กมีคุณภาพต่อไป 4.1 บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 1. ครู/ผู้ดูแลเด็ก เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ในช่วงที่เด็กอยู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเป็นผู้ที่มี อิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กมากที่สุด ครู/ผู้ดูแลเด็ก จึงควรรับรู้นโยบายเข้าใจ แนวทางการพัฒนา และได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะต่างๆ ที่จ�ำเป็น ต่อการเลี้ยงดูเด็กอย่างสม�่ำเสมอ นอกจากนี้ ผู้ดูแลเด็กยังควรได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพให้มีสุขภาพที่ดีอยู่ เสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพส�ำหรับเด็ก 2. ผู้บริหารศูนย์เด็กเล็ก หรือผู้ประกอบการศูนย์เด็กเล็ก เป็นบุคคล ที่มีความส�ำคัญในการวางแผนการพัฒนารวมถึงประสานงานกับบุคคล และหน่วยงานต่างๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุน และเป็นผู้น�ำการพัฒนา ในการบริหารจัดการบุคลากร งบประมาณ และสถานที่ที่มีอยู่ 3. ผู้ปกครอง เป็นบุคคลส�ำคัญที่สามารถช่วยด�ำเนินงานและ กิจกรรมต่างๆ ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยอาจเข้ามาเป็น กรรมการ วิทยากร หรืออาสาสมัครช่วยดูแลเด็ก ซึ่งจะท�ำให้ผู้ปกครอง เข้าใจปัญหาความต้องการและให้การสนับสนุนได้ ความสัมพันธ์และ การสื่อสารที่ดีระหว่างบุคลากรกับผู้ปกครองเป็นปัจจัยส�ำคัญของ ความส�ำเร็จของการด�ำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการด�ำเนินงานของ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตอนที่ 4 4. ชุมชนรอบศูนย์เด็กเล็ก นอกจากผู้ปกครองแล้วในชุมชนยังมีบุคคลที่แม้ ไม่ได้มีลูกหลานอยู่ใน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย แต่มีศักยภาพที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนา เช่น ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระภิกษุ พ่อค้า แม่ค้า หรือมูลนิธิชมรมต่าง ๆ เป็นต้น บุคคลในชุมชนเหล่านี้สามารถช่วยสนับสนุนด้านความคิด แรงกาย และ ทุนทรัพย์ หากได้รับรู้และเข้าใจการด�ำเนินงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 5. องค์กรส่วนภูมิภาค เป็นหน่วยงานที่รับนโยบายจากส่วนกลางเพื่อถ่ายทอดให้กับพื้นที่ ตลอดจนให้ ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาด้านวิชาการ ติดตาม ประเมินผล และการประกันคุณภาพ จึงเป็นส่วนที่ส�ำคัญในการ เชื่อมต่อระหว่างส่วนกลางกับพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีบทบาทส�ำคัญในการประสานงานและกระตุ้น ผู้เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนต�ำบล ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้เห็นความส�ำคัญของ การพัฒนา ศักยภาพในการให้ความรู้ด้านเด็ก 6. องค์กรส่วนกลาง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่รับเด็กอายุต�่ำกว่า 3 ปี มีหลากหลายสังกัด บางส่วนจัดตั้ง ขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับบุคลากรในหน่วยงาน ท�ำให้การบริหารจัดการรวมถึงการด�ำเนินงานมีความแตกต่าง กันไป ขึ้นอยู่กับนโยบาย บทบาทส�ำคัญคือสนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การให้ค�ำปรึกษา ทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานการประเมินและประสานนโยบายกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 4.2 การสร้างการมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมการเรียนรู้ ครอบครัว ชุมชน และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีบทบาทหน้าที่ ร่วมกันในการอบรมสั่งสอนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กเติบโตและ มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย จะต้องมีความเข้าใจอันดีต่อกัน เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันในการพัฒนาเด็ก ช่วยจัดกิจกรรมและ ประสบการณ์ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็ก รวมไปถึงการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว เป็นส�ำคัญ ส่วนครู ผู้บริหารและบุคคลากรของสถานศึกษา รวมถึงชุมชนจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สามารถท�ำได้ดังนี้ 1. สร้างความสัมพันธ์ด้วยสื่อบุคคล 1.1 การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ เป็นการพูดคุยตามปกติในช่วงที่ผู้ปกครองมาส่ง-รับลูกที่โรงเรียน ครูควร เป็นคนช่างสังเกตและตีความจากค�ำสนทนา เพื่อช่วยให้ครูรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กและทัศนคติ ของผู้ปกครอง และเด็กได้อย่างดีมากขึ้น 1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเด็กหรือคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ประกอบไปด้วยผู้ปกครอง หรือผู้ที่ได้รับการยกย่องนับถือในหมู่บ้านหรือชุมชน มาร่วมให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ของสถานพัฒนา เด็กปฐมวัย คณะกรรมการชุดดังกล่าวสามารถประสานสัมพันธ์กับระบบหรือกลไกในการท�ำงานของชุมชน เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เนื่องจากมีความเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ ค่านิยม และ การด�ำรงชีวิตของผู้คนในชุมชนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว 2. สร้างความสัมพันธ์ด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ 2.1 หนังสือ เป็นเอกสารที่ท�ำเป็นเล่ม สามารถบรรจุเนื้อหาต่างๆ ได้มาก เหมาะกับผู้ปกครองที่มีระดับ ความสามารถในการอ่านสูง เพราะมีเนื้อหาและเวลาในการอ่านมาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=