คู่มือเยี่ยมบ้าน

4 ความส�ำคัญของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ในโครงการพัฒนาระบบการดูแลและป้องกันภาวะซึมเศร้าในมารดา เพื่อลูกรักพัฒนาการสมวัยพร้อมเรียนรู้ การส�ำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 ปีพ.ศ. 2560 ด้วยเครื่องมือ DENVER II โดยกรมอนามัย พบเด็กอายุ 0- 5 ปี มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 32.5 เมื่อจ�ำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 0 - 2 ปี มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 23.20 และเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเด็กอายุ 3-5 ปี เป็นร้อยละ 48.00 โดยพัฒนาการสงสัย ล่าช้าสูงสุด คือด้านภาษาและการใช้ภาษา ร้อยละ 20.6 พบปัญหาว่า เด็กไม่สามารถพูดค�ำที่มีความหมาย หรือ พูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่สามารถบอกสี จ�ำนวน และการวาดรูปทรงเรขาคณิตได้อย่างถูกต้อง เด็กเหล่านี้หากไม่ได้ รับการแก้ไขพัฒนาการด้านที่ล่าช้า เด็กจะมีโอกาสมีปัญหาทางการเรียนรู้ ปัจจัยที่ส�ำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก คือ เศรษฐนะของพ่อแม่ และการที่เด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ขาดการกระตุ้นพัฒนาการ จากงานวิจัย ทั่วโลก พบว่า การพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เก่ง และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ จะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ ช่วงปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนอายุ 6ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุดและการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นรากฐาน ของชีวิตในช่วงวัยต่อไป การมีคุณภาพของคนๆ หนึ่งอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ดร.เจมส์ เจ แฮคแมน กล่าวว่าการลงทุนกับเด็ก ในช่วงนี้ จึงนับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด ดังนั้นโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นโครงการหนึ่ง ที่ตอบสนองต่อการสร้างต้นทุนชีวิตให้กับเด็กที่มั่นคง บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขหลัก ประกอบด้วย 3 ส่วน (1) การดูแลและปกป้องสุขภาพมารดาและเด็กปฐมวัย กระทรวงสาธารณสุขได้สร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า และวางแนวทางด�ำเนินงานตามโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เริ่มตั้งแต่แม่ก่อนการตั้งครรภ์ แม่จะได้รับวิตามินเสริมธาตุเหล็ก และโฟลิก ก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือน ฟรี เพื่อป้องกันความพิการแต่ก�ำเนิด ของลูก เมื่อตั้งครรภ์จะได้รับ การตรวจครรภ์ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ ได้รับวิตามินเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟลิก ฟรีจนกระทั่ง 6 เดือนหลังคลอด เมื่อทารกคลอดได้กินนมแม่ในห้องคลอด และสนับสนุนให้กินนมแม่ต่อเนื่อง จนลูกอายุ 2ปีหรือมากกว่าควบคู่อาหารตามวัย เด็กได้รับวัคซีนสร้างภูมิต้านทานโรค การประเมินภาวะโภชนาการ และการเลือกเมนูอาหารตามวัยของลูกในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก การตรวจพัฒนาการตามวัย การตรวจสุขภาพและการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NDQyNzM=